อายุของคู่สมรส ถือเป็นสิ่งสำคัญ ในการวางแผนเพื่อรักษาผู้มีบุตรยากในรูปแบบต่าง ๆ ค่ะ ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยากอัครบุตร สรุปช่วงอายุที่เหมาะสมที่คุณหมอแนะนำในการรักษาผู้มีบุตรยากแบบคร่าว ๆ มาฝากกันค่ะ
- อายุ 25-30 ปี รักษาแบบ IUI สำหรับฝ่ายหญิงที่อายุไม่เยอะ และไม่มีปัญหามาก
- อายุ 30-35 ปี รักษาแบบ IUI, ICSI คุณหมอจะวิเคราะห์ถึงปัญหาและทำการรักษารายบุคคล
- อายุ 35 ปีขึ้นไป รักษาแบบ ICSI เหมาะสำหรับฝ่ายหญิงที่มีอายุค่อนข้างมาก หรือคู่สมรสที่มีปัญหาค่อนข้างรุนแรง
สำหรับข้อมูลนี้เป็นการให้เห็นภาพรวมแบบคร่าว ๆ เท่านั้นนะคะ เพราะการรักษาผู้มีบุตรยาก คุณหมอจะวางแผนการรักษา โดยดูปัญหาเป็นรายบุคคลค่ะ
การรักษาแบบ IUI
การฉีดเชื้ออสุจิเข้าโพรงมดลูกเป็นการรักษาภาวะมีบุตรยากแบบเบื้องต้นอีกวิธีหนึ่ง โดยแพทย์จะนำเชื้ออสุจิไปเตรียมความพร้อม และคัดเลือกเอาอสุจิที่มีลักษณะที่ดี เช่น รูปร่างปกติ วิ่งเร็ว เป็นต้น ฉีดเข้าไปในโพรงมดลูกในวันที่ไข่ตก เพื่อให้มีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น
ใครบ้างควรทำ IUI
- วิธีนี้เป็นการรักษาเบื้องต้น เหมาะกับคนที่มีปัญหาไม่มาก ท่อนำไข่ไม่ตัน น้ำเชื้อปกติ
- คู่ที่จดทะเบียนสมรสแล้ว
การรักษาแบบ ICSI หรือ อิ๊กซี่
- เป็นเทคโนโลยีขั้นสูงในการทำเด็กหลอดแก้ว เป็นการผสมกันภายนอก โดยใช้เครื่องมีที่มีความละเอียดสูง
- เริ่มจากคัดเลือกอสุจิที่แข็งแรง 1 ตัว และฉีดเข้าไปในไข่ที่โตเต็มที่โดยตรง เพื่อให้เกิดการปฎิสนธิ แล้วเลี้ยงตัวอ่อนนั้นต่อจนโตเต็มที่ จากนั้นย้ายตัวอ่อนนั้นกลับเข้าไปในโพรงมดลูก และรอผลการตั้งครรภ์
- เหมาะสำหรับฝ่ายชายที่มีอสุจิน้อย หรือไม่มีเลย
- ให้ผลสำเร็จ 30-40% และเป็นวิธีที่เพิ่มโอกาสของการตั้งครรภ์มากที่สุด
- ค่าใช้จ่ายสูง
ใครบ้างที่ควรทำ ICSI
- ผู้ที่เคยผ่านการฉีดน้ำเชื้อเข้าโพรงมดลูกมาแล้วมากกว่า 3 ครั้ง แต่ไม่ตั้งครรภ์
- ฝ่ายหญิงที่ท่อนำไข่มีปัญหา หรือ ผิดปกติ เช่น ถูกตัดท่อนำไข่ หรือ ท่อนำไข่ตีบตัน หรือคดงอ, บวมน้ำ หรือไม่มีท่อนำไข่จากความพิการแต่กำเนิด, หรือเคยผ่าตัดท่อนำไข่ออกไปทั้งสองข้าง
- ผู้ที่น้ำเชื้อมีคุณภาพไม่ดี เช่น มีตัวเชื้อน้อย วิ่งช้า รูปร่างผิดปกติ ไม่พบตัวอสุจิ หรือไม่สามารถหลั่งน้ำเชื้อออกมาได้ เป็นต้น
- ฝ่ายหญิงที่มีค่าฮอร์โมนรังไข่ผิดปกติรุนแรง
- ผู้มีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป เนื่องจากคุณภาพของรังไข่จะเริ่มลดลง
- มีประวัติโรคทางพันธุกรรมในครอบครัว เนื่องจากการทำเด็กหลอดแก้วและตรวจโครโมโซมตัวอ่อนจะช่วยป้องกันการเกิดโรคทางพันธุกรรมในลูกได้
- คู่สมรสที่มีภาวะมีบุตรยากที่หาสาเหตุไม่ได้ และพยายามมีลูกมาแล้วหลายปี
หากมีข้อสงสัย เกี่ยวการตั้งครรภ์ อยากมีลูกหรือปัญหาเกี่ยวกับภาวะมีลูกยาก
สอบถามสิ่งที่คุณสงสัย หรือต้องการได้คำตอบได้ผ่านช่องทาง Line ได้เลย
หรือสามารถตรวจเช็คตารางแพทย์ออกตรวจ
เพื่อขอเข้ารับคำปรึกษาได้เลยค่ะ
มีลูกยาก อยากมีลูก ไว้ใจศูนย์รักษาผู้มีบุตรยากอัครบุตร
โดย รศ.นพ.เรืองศิลป์ เชาวรัตน์ และทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ