การวินิจฉัยภาวะมีบุตรยากประกอบไปด้วย
การซักประวัติ
ฝ่ายหญิง
ประวัติการมีประจำเดือน การผ่าตัด การแต่งงานและการมีบุตร การมีเพศสัมพันธ์ การคุมกำเนิด ลักษณะนิสัยบางประการ รูปแบบการดำเนินชีวิต ลักษณะนิสัยส่วนตัว การได้รับยารังสี สารเคมี การได้รับอุบัติเหตุและการผ่าตัด เป็นต้น
ฝ่ายชาย
ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต เช่น โรคคางทูม โรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ โรคเบาหวาน โรคของต่อมไร้ท่อ ลักษณะนิสัยบางประการ (การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอร์ฯ) รูปแบบการดำเนินชีวิต ลักษณะนิสัยส่วนตัว การได้รับยา รังสี สารเคมี การมีเพศสัมพันธ์ และความถี่ในการมีเพศสัมพันธ์ การได้รับอุบัติเหตุและการผ่าตัด การได้รับการกระทบกระเทือนที่อวัยวะสืบพันธ์ เป็นต้น
การตรวจร่างกาย
ฝ่ายหญิง
การตรวจร่างกายทั่วไป เช่น โรคทางอายุรกรรมที่เป็นสาเหตุให้มีบุตรยาก เป็นต้น การตรวจต่อมไร้ท่อ (Hypothalamus, Pituitary, Thyroid) และการตรวจเฉพาะระบบสืบพันธ์สตรี ได้แก่ ช่องคลอด คอมดลูก ท่อนำไข่ รังไข่ เยื่อพังผืดในช่องเชิงกราน และภูมิต้านทานตัวอสุจิ
ฝ่ายชาย
การตรวจร่างกายทั่วไป และการตรวจระบบสืบพันธ์ เช่น หนังหุ้มปลายองคชาต ลักษณะและรูเปิดของท่อปัสสาวะ ลักษณะรูปร่างอัณฑะ หลอดเลือดขอดในถุงอัณฑะ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ฝ่ายหญิง
การตรวจเลือดทั่วๆไป การตรวจฮอร์โมนฯ
ฝ่ายชาย
การตรวจเลือดทั่วๆไป การตรวจฮอร์โมน การตรวจน้ำอสุจิ
ค่าปกติของน้ำอสุจิ
- ปริมาณน้ำเชื้อ: 2 cc. หรือมากกว่า
- ความเป็นกรด-ด่าง: pH 6-8
- จำนวนตัวอสุจิต่อซีซี: 20 ล้านตัว/ซีซี หรือมากกว่า
- การเคลื่อนไหว: 50% หรือมากกว่า
- ลักษณะรูปร่าง: 50% ปกติหรือมากกว่า
- การมีชีวิต: 50% มีชีวิตหรือมากกว่า