สังคมปัจจุบันผู้หญิงทำงานนอกบ้าน มีภาระหน้าที่ มีหน้าตาทางสังคม ทำให้กว่าผู้หญิงจะตัดสินใจแต่งงานและมีบุตรจะมีอายุค่อนข้างเยอะ และอย่างที่ทราบกันดีว่าการที่คุณแม่อายุเยอะ ระบบต่าง ๆ ในร่างกายก็เริ่มเสื่อมถอย แถมยังส่งผลไปยังพันธุกรรมต่างๆ ที่จะถ่ายทอดไปยังลูก ซึ่งจะเสี่ยงต่อการที่ลูกจะมีโครโมโซมผิดปกติ ซึ่งยิ่งอายุที่เพิ่มขึ้น ความเสี่ยงที่ลูกจะเป็นดาวน์ซินโดรมก็จะเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน
ทำความรู้จักโรคดาวน์ซินโดรม
โรคดาวน์ซินโดรม (Down Syndrome)หรือที่เรียกว่า โรคพัฒนาการสมองล่าช้า หรือปัญญาอ่อน เป็นความผิดปกติทางพันธุกรรมแต่กำเนิด ที่พบได้ 1 คนจาก 600-700 คนในทารกแรกเกิด ไม่สามารถรักษาให้หายได้ เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม คู่ที่ 21 คือมีเกินมา 1 แท่ง โดยปกติคนเราจะมีโครโมโซมซึ่งเป็นพันธุกรรมที่ควบคุมลักษณะของแต่ละบุคคล เช่น สีของตา เพศ หรือการพัฒนารูปร่างหน้าตา ที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากพ่อ 23 โครโมโซม และจากแม่ 23 โครโมโซม รวมเป็น 46 โครโมโซม แต่ผู้ป่วยดาวน์ซินโดรมมักมีโครโมโซมเกินมา 1 เท่ากับ 47 โครโมโซม
เด็กดาวน์ซินโดรมจะมีรูปร่างลักษณะและพัฒนาการบางอย่างของร่างกายที่แตกต่างไปจากเด็กปกติ จะมีใบหน้าและรูปร่างลักษณะที่จำเพาะ ตัวอ่อนปวกเปียก กล้ามเนื้อหย่อน ข้อต่อหลวม เชาวน์ปัญญาต่ำ ทำให้มีปัญหาด้านพัฒนาการ
ปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้ลูกเกิดมาเป็นดาวน์ซินโดรมนั้นคือ อายุของผู้เป็นแม่ ยิ่งผู้ที่ตั้งครรภ์มีอายุมากขึ้น ความเสี่ยงที่จะมีบุตรเป็นดาวน์ซินโดรมก็จะเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย
อย่างไรก็ตาม โอกาสที่จะมีบุตรเป็นดาวน์ซินโดรมก็สามารถเกิดขึ้นได้กับหญิงตั้งครรภ์ทุกวัย หากเคยมีประวัติหรือเคยให้กำเนิดบุตรที่เป็นดาวน์ซินโดรม ย่อมมีโอกาสสูงที่จะมีบุตรเป็นดาวน์ซินโดรม และหากพ่อแม่เด็กมีภาวะอาการดาวน์ซินโดรมอยู่ก่อนแล้ว โอกาสที่เด็กจะเกิดมาเป็นดาวน์ซินโดรมจะสูงถึง 50%
คุณแม่อายุเท่าไหร่ จะมีความเสี่ยงในระดับไหน ดูได้ง่าย ๆ จากตาราง
ลูกเสี่ยงแม่ก็เสี่ยง
การมีลูกเมื่ออายุมาก นอกจากลูกจะเสี่ยงแล้ว ตัวคุณแม่เองก็เสี่ยงด้วยค่ะ ซึ่งหากต้องการมีลูกจริง ๆ ในช่วงที่อายุมาก ควรต้องวางแผน และดูแลตัวเองให้ดี ปรึกษาแพทย์อย่างสม่ำเสมอ เพราะมีหลายโรคที่สามารถพบได้ในผู้หญิงที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้แก่
หากมีข้อสงสัย เกี่ยวการตั้งครรภ์ อยากมีลูกหรือปัญหาเกี่ยวกับภาวะมีลูกยาก
สอบถามสิ่งที่คุณสงสัย หรือต้องการได้คำตอบได้ผ่านช่องทาง Line ได้เลย
หรือสามารถตรวจเช็คตารางแพทย์ออกตรวจ
เพื่อขอเข้ารับคำปรึกษาได้เลยค่ะ
เรื่องการเก็บไข่ ไว้ใจศูนย์รักษาผู้มีบุตรยากอัครบุตร
โดย รศ.นพ.เรืองศิลป์ เชาวรัตน์ และทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ