ประจำเดือนถือเป็นสิ่งที่สะท้อนสุขภาพของสาว ๆ ได้อย่างหนึ่ง หลายคนเลยมีข้อสงสัยว่า แล้วประจำเดือนแบบไหน ที่อาจส่งผลต่อภาวการณ์มีบุตรยาก ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยากอัครบุตร มาข้อมูลมาฝากกันค่ะ
ประจำเดือน คืออะไร
ประจำเดือน คือ เลือดที่เกิดจากการหลุดลอกของโพรงมดลูก สาเหตุเกิดจากการที่มีความปเลี่ยนแปลงของฮอร์โมน หากไม่มีการปฎิสนธิเกิดขึ้น เยื่อบุโพรงมดลูกเหล่านั้นก็จะค่อย ๆ ลอกออกมา ซึ่งประจำเดือน คือ เลือดผสมเยื่อบุโพรงมดลูกที่หลุดลอกออกมาตามธรรมชาติ
ประจำเดือนกับภาวะการมีบุตรยาก
สิ่งที่ผู้หญิงทุกคนควรรู้ คือ การที่ผู้หญิงมีประจำเดือน ตามปกติ คือการทำงานประสานกันของต่อมใต้สมองส่วนหน้ากับอวัยวะสืบพันธุ์ โดยต่อมใต้สมองจะผลิตฮอร์โมน FSH ให้สูงขึ้น เพื่อมากระตุ้นให้รังไข่ผลิตไข่ และผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนของผู้หญิง แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่ระดับฮอร์โมนในร่างกายเปลี่ยนไปจากภาวะปกติ ทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ อาจส่งผลให้เกิดภาวะมีบุตรยากในอนาคตได้ค่ะ
รู้จักฮอร์โมน FSH
ฮอร์โมน FSH หรือ Follicle Stimulating Hormone เป็นฮอร์โมนกระตุ้นการเจริญของไข่ เป็นฮอร์โมนที่มีผลโดยตรงต่อวงจรรอบเดือน หากมีระดับ FSH ต่ำเกินไป (มักจะพบในผู้หญิงที่มีอาการของโรค PCOS) หรือสูงเกินไป (อาจพบในผู้หญิงที่เข้าสู่ภาวะหมดประจำเดือนก่อนกำหนด) จะสามารถทำให้เป็นผู้มีบุตรยากได้
FSH ปกติโดยทั่วไปจะไม่เกิน 10 mIU/ml และจะมีความสัมพันธ์โดยตรงกับไข่สำรองที่มีอยู่ (รวมถึงคุณภาพและจำนวนของไข่ที่เหลืออยู่) เมื่อมีจำนวนไข่ลดน้อยลง และคุณภาพของไข่เสื่อมลง ร่างกายจะพยายามผลิต FSH ออกมามากขึ้น เพื่อชดเชยและกระตุ้นให้ follicle มีการเจริญมากขึ้น ด้วยเหตุนี้เอง หากพบว่ามีระดับ FSH สูง อาจเป็นตัวบ่งชี้ว่ากำลังจะเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนแล้ว การมี FSH ในระดับต่ำเกินไปอาสส่งผลต่อภาวะเจริญพันธุ์ ทำให้วงจรรอบเดือนหยุดชะงักไปได้
บทความที่เกี่ยวข้อง
สังเกตอย่างไร แบบไหนประจำเดือนไม่ปกติ
1. เช็คความถี่
ปกติประจำเดือนควรมาทุก 21-35 วัน จะสามารถตกไข่ได้ตามปกติ 80% หากประจำเดือนถี่หรือห่างกว่า มักเกิดการไม่ตกไข่เรื้อรัง ทำให้ประจำเดือนมาห่าง และมีบุตรยาก
2. เช็คปริมาณและระยะเวลา
ระยะเวลาของเลือดประจำเดือน ปกติควรอยู่ที่ 2-7 วัน และปริมาณสามารถวัดได้จากจำนวนผ้าอนามัยขนาดปกติ ไม่เกิน 3-4 แผ่นต่อวัน หากประจำเดือนออกกะปริบกะปรอยหลังจากประจำเดือนหยุดแล้ว หรือมีลิ่มเลือดเกินปลายก้อยออกมา อาจเป็นสัญญาณเยื่อบุโพรงมดลูกมีปัญหา ซึ่งก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุของการมีลูกยากค่ะ
3. เช็คอาการปวดประจำเดือน
เช่น ปวดท้องน้อย ปวดหน่วงลงช่องคลอดหรือทวารหนัก ปวดหลังทั้งก่อนและหลัง หรือระหว่างมีประจำเดือน ซึ่งมักมีความรุนแรงมากขึ้น อาการเหล่านี้อาจทำให้มีลูกยาก จากภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ที่รังไข่ หรือช็อกโกแลตซีสต์ค่ะ
หากมีข้อสงสัย เกี่ยวการตั้งครรภ์ อยากมีลูกหรือปัญหาเกี่ยวกับภาวะมีลูกยาก
สอบถามสิ่งที่คุณสงสัย หรือต้องการได้คำตอบได้ผ่านช่องทาง Line ได้เลย
หรือสามารถตรวจเช็คตารางแพทย์ออกตรวจ
เพื่อขอเข้ารับคำปรึกษาได้เลยค่ะ
เรื่องการเก็บไข่ ไว้ใจศูนย์รักษาผู้มีบุตรยากอัครบุตร
โดย รศ.นพ.เรืองศิลป์ เชาวรัตน์ และทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ