หลายท่านที่กำลังรักษาภาวะมีบุตรยาก มีคำถามสอบถามเข้ามานะคะว่า จำเป็นต้องตรวจโครโมโซมตัวอ่อนหรือเปล่า การตรวจโครโมโซมตัวอ่อนมีข้อดี ข้อเสียอย่างไร แล้วใครบ้างที่ควรตรวจ ศูนย์รักษาผุ้มีบุตรยากอัครบุตร ไขข้อข้องใจสำหรับคำถามนี้
รู้จักโครโมโซมกันก่อน
โครโมโซมของมนุษย์ เป็นส่วนที่ใช้บรรจุรหัสพันธุกรรมของมนุษย์ ในแต่ละโครโมโซมจะมีแต่ละยีนส์ ซึ่งทำหน้าที่แตกต่างกัน ในร่างกายมนุษย์จะมีโครโมโซมทั้งหมด 23 คู่ หรือ 46 อัน ซึ่งแต่ละคู่จะอยู่คู่กันเหมือนปาท่องโก๋ โดย 1 ข้างจะมาจากพ่อ และ 1 ข้างจะมาจากแม่
การตรวจโครโมโซม คืออะไร
หลักการของการตรวจโครโมโซมตัวอ่อน คือเราต้องการทราบว่าตัวอ่อนที่เราผสมและเลี้ยงเติบโตมาเป็นบลาสโตซิสต์นั้น มีความผิดปกติของโครโมโซมในแง่ของจำนวนหรือไม่ เนื่องจากตามธรรมชาติของคนเรา แม่จะมีการตั้งครรภ์ตามธรรมชาติ ก็ยังสามารถมีโอกาสแท้งได้ร้อยละ 15 ของประชากร ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมตัวอ่อน และส่วนใหญ่จะแท้งอยู่ในไตรมาสแรก คือ ภายใน 3 เดือนแรก
การตรวจโครโมโซมตัวอ่อนก่อนการฝังตัว (PGT : Preimplantation Genetic Testing) ถือเป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ เทคโนโลยีนี้ คือการตัดชิ้นส่วนของเซลล์ตัวอ่อน ซึ่งมักจะทำในระยะบลาสโตซิสต์ เพื่อตรวจหาความผิดปกติของโครโมโซม และทำให้ทราบเพศของตัวอ่อน วิธีการนี้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อคัดเลือกตัวอ่อนที่มีความผิดปกติของสารพันธุกรรม เช่น ตรวจหาจำนวนโครโมโซมที่ผิดปกติได้ โดยวิธีที่เรียกว่า PGT-A หรือใช้ตรวจหาความผิดปกติในระดับยีนโดยวิธี PGT-M และตรวจหาการจัดเรียงตัวใหม่ของโครงสร้างโครโมโซมที่ผิดปกติโดยวิธี PGT-SR เทคโนโลยีการตรวจคัดเลือกพันธุกรรมก่อนการฝังตัวของตัวอ่อน สามารถเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ และได้บุตรที่ปกติสมบูรณ์และลดอัตราการแท้งอันเนื่องมาจากความผิดปกติทางพันธุกรรมของทารกได้
ข้อดีของการตรวจโครโมโซมตัวอ่อน
ข้อดีของการตรวจโครโมโซมตัวอ่อน
ใครบ้างควรตรวจโครโมโซมตัวอ่อน?
เมื่อการตรวจโครโมโซมตัวอ่อนมีทั้งข้อดีและข้อเสียแล้ว จึงได้มีการกำหนดข้อบ่งชี้ในการตรวจโครโมโซมตัวอ่อนดังนี้
บทความที่เกี่ยวข้อง
หากมีข้อสงสัย เกี่ยวการตั้งครรภ์ อยากมีลูกหรือปัญหาเกี่ยวกับภาวะมีลูกยาก
สอบถามสิ่งที่คุณสงสัย หรือต้องการได้คำตอบได้ผ่านช่องทาง Line ได้เลย
หรือสามารถตรวจเช็คตารางแพทย์ออกตรวจ
เพื่อขอเข้ารับคำปรึกษาได้เลยค่ะ
เรื่องการเก็บไข่ ไว้ใจศูนย์รักษาผู้มีบุตรยากอัครบุตร
โดย รศ.นพ.เรืองศิลป์ เชาวรัตน์ และทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ